เก้าอี้นั่งสบาย ราคาถูก
เก้าอี้นั่งสบาย ราคาถูก – โดยเฉลี่ยคนเราหนึ่งวันอยู่ในท่านั่งกว่า 12ชม.วัน, นอน 8ชม. และท่าอื่น ๆ เช่น ยืน-เดิน-ท่าต่าง ๆ 4 ชม. จะเห็นว่าเราอยู่ในท่านั่งนานที่สุด ท่านั่งและ เก้าอี้นั่งสบาย จึงมีความสำคัญอย่างมาก การนั่งผิดท่าเป็นเวลานานทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมากมาย เช่น Office Syndrome, อาการปวดหลัง, ปวดคอ, กล้ามเนื้ออักเสบ ลามไปจนถึงอัมพฤตได้อีกด้วย
เลือกเก้าอี้ทํางานแบบไหนดี นั่งชิลล์ไม่ปวดหลัง
มนุษย์ออฟฟิศ กับปัญหาสุขภาพ ถือเป็นสิ่งที่สามารถเกิด ขึ้นได้บ่อย เนื่องจากรูปแบบ การทำงานที่ต้องนั่ง หน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นระยะเวลานาน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ หรือมีความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โดยเฉพาะในช่วง Work Form Home เช่นนี้ วิธีที่ช่วยให้สามารถ นั่งทำงานได้คล่องตัว และคลายอาการปวดเมื่อย คือการเลือกเก้าอี้นั่งสบาย ที่ตอบโจทย์ชาวออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานในแต่ละวัน และเพื่อให้ได้เก้าอี้ ที่ซัพพอร์ตหลัง ในวันที่ต้องนั่งหน้าคอม เป็นเวลานาน ลองมาดูทริคเลือก เก้าอี้สำนักงานนั่งสบาย เข้ากับสรีระร่างกาย ลดอาการปวดเมื่อย และไม่มีปัญหา สุขภาพตามมา
อาการปวดหลังจากการทำงานเกิดจากอะไร
อาการปวดหลัง สามารถเกิดได้จาก หลายสาเหตุแต่ ส่วนใหญ่ที่วัยทำงาน ต้องพบเจอ คือ การไม่ออกกำลังกาย หรือบริหารร่างกาย อย่างสม่ำเสมอ และการนั่งอยู่ท่าเดิม เป็นเวลานาน ซึ่งกลายเป็นสาเหตุหลัก ของวัยทำงาน ที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง หรือปวดเมื่อยตาม เนื้อตัวในขณะทำงาน เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้รับ การยืดตัวหรือ ยืดเส้นยืดสาย ดังนั้นนอกจาก การลุกยืดตัว หรือลุกเดินระหว่าง ทำงานแล้ว การเลือกเก้านั่งนั่งสบาย คุณภาพดี มีส่วนช่วยลดอาการปวดหลังได้เช่นกัน
วิธีการเลือกเก้าอี้ทํางานเพื่อสุขภาพ แนะนํา ลดอาการปวดหลัง
เลือกให้เข้ากับสรีระร่างกาย
ควรเลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระร่างกายของคนนั่งให้ได้มากที่สุด และสามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบท หรือท่านั่งในระหว่างทำงานได้ ซึ่งหากเป็นคนที่มีรูปร่างใหญ่แต่เลือกเก้าอี้ตัวเล็กก็อาจทำให้การนั่งทำงานนอกจากไม่สะดวกยังส่งผลให้เกิดการปวดเมี่อยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
เลือกแบบที่ปรับระดับได้
การเลือกเก้าอี้สํานักงานนั่งสบายควรเลือกที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำของเก้าอี้ได้ เนื่องจากสรีระและความยาวของช่วงขาแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นควรเลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับความสูงให้เท่ากับช่วงความยาวของขาท่อนล่างหรือบริเวณน่อง เพื่อให้เท้าสามารถวางราบไปกับพื้นได้อย่างพอดีและลดอาการปวดเมื่อยได้
เลือกพนักพิงที่พอดีกับแผ่นหลัง
เก้าอี้สำหรับนั่งทำงานที่ดีควรมีพนักพิงหลัง ที่นอกจากจะรองรับสรีระร่างกายแล้ว ต้องไม่แข็งจนเกินไป มีความยืดหยุ่นแบบพอดีเพื่อช่วยรองรับหมอนรองกระดูกบริเวณหลัง และควรนั่งให้ก้นชิดพนักด้านหลัง เนื่องจากการพิงไม่ถึงรวมถึงเอนตัวไปด้านหลังมาก ๆ อาจทำให้กระดูกบริเวณหลังงอ ผิดรูป ส่งผลให้เกิดเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้
เลือกแบบมีที่วางแขน
ที่วางแขนเก้าอี้ทำงานถือเป็นสิ่งจำเป็นที่นอกจากจะช่วยให้นั่งทำงานได้สบายแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยพยุงตัวในการปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกขึ้นยืน
เลือกเบาะนั่งที่นุ่มกำลังดี
การเลือกเบาะนั่งสำหรับเก้าอี้ทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยให้นั่งสบายและไม่แข็งจนเกินไป การเลือกความนุ่มของเบาะที่พอดีจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกเชิงกรานบิดงอได้ และควรมีความกว้างพอที่สามารถรองรับสรีระของผู้นั่งได้อย่างพอดี
เลือกแบบที่มีล้อเลื่อน
ล้อเลื่อนของเก้าอี้ช่วยให้สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งจากการหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ และสะดวกแก่การลุกนั่ง รวมถึงไม่เกิดเสียงดังขณะขยับตัวไม่ส่งผลให้พื้นหรือกระเบื้องเป็นรอย
เลือกซื้อจากช่วงราคาที่เหมาะสม
เก้าอี้ทํางานเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าเก้าอี้ประเภทอื่น ดังนั้นควรเลือกที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีราคาสมเหตุสมผล เพื่อให้ได้เก้าอี้นั่งทำงานคุณภาพดีและราคาไม่แพงเกินไป
ท่านั่งที่ถูกต้องสำหรับ เก้าอี้นั่งสบาย ราคาถูก
1. นั่งหลังตรง นั่งให้เต็มก้นคือหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนัก ช่วยเรื่องการจัดระเบียบหลัง ทำให้หลังตรงโดยอัตโนมัติตามแนวของพนักพิง แต่ถ้าไม่ได้นั่งพิงพนัก ต้องพยายามฝึกนั่งหลังตรงตลอดเวลา
2. ยืดไหล่ ตั้งคอตรง
3. หากที่นั่งของเก้าอี้ลึกเกิน อาจจะหาหมอนหนุน เพื่อช่วยให้หลังตรงได้
4. ควรเลือกขนาดของโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมพอดีกับสรีระ สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน
5. หากเก้าอี้สูงเกินไปและปรับระดับไม่ได้ ควรหาม้านั่งตัวเล็กไว้ใต้โต๊ะเพื่อวางเท้า
6. ปรับระดับจอภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ให้อยู่ในระดับสายตา
7. จอภาพ ควรห่างจากตา 12-18 นิ้ว
8. แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอกและข้อมือ
9. ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่
และนอกจากนี้ ควรกะพริบตาบ่อย ๆ ขณะใช้คอมพิวเตอร์ หรือมองหน้าจอมือถือ เปลี่ยนอิริยาบถ ลุกเดิน และละสายตาจาก จอคอมพิวเตอร์และมือถือทุก 45 นาที รวมถึงออกกำลังกายเป็นประจำ เพียงแค่นี้ท่านก็ จะห่างไกลจากอาการบาดเจ็บ จากการนั่งผิดท่านาน ๆ แล้ว
วิธีเลือกเก้าอี้นั่งสบาย เพื่อสุขภาพ ลดอาการปวดหลัง
1.เบาะนั่ง
ก่อนซื้อควรลองนั่งดูก่อน โดยเลือกเบาะที่มีขนาดพอดี นั่งแล้วไม่รู้สึกคับแคบหรืออึดอัด แต่ก็ไม่ควรเลือกเบาะขนาดใหญ่เกินไป และเวลานั่งหลังต้องชิดพอดีกับพนักพิงเบาะ เพราะการพิงไม่ถึงและเอนตัวไปด้านหลังจะทำให้หลังงอ ส่วนความลึกของเบาะต้องไม่มากกว่าช่วงต้นขาเพื่อให้นั่งทำงานได้สบาย เบาะต้องไม่นุ่มหรือเป็นแอ่ง เพราะส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอ
2.ที่วางแขน
ที่วางแขนจะช่วยรองรับแขน ระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เราดันตัวระหว่างนั่ง ให้ยืดตรงและช่วยค้ำพยุงตัว เวลาลุกไปไหนมาไหนได้ ถ้าหากสามารถปรับที่วางแขนให้สูง-ต่ำได้ด้วยยิ่งดี เพื่อให้ข้อศอกงอในมุม ที่เหมาะและสามารถวางแขน บนโต๊ะทำงานได้อย่างสบาย หรือทั้งเลื่อนขึ้น-ลงและกางออกสำหรับคนตัวใหญ่ โดยที่วางแขนควรมีความกว้างอย่างน้อย 2 นิ้ว แต่สำหรับคนที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์อาจไม่ต้องมีที่เท้าแขน หรือมีเท้าแขนแบบไม่มีที่ปรับระดับก็ได้ ที่สำคัญหากเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานที่มีที่เท้าแขนหลังจากซื้อโต๊ะทำงานแล้ว ควรวัดขนาดโต๊ะทำงานไปก่อนเพื่อให้สอดเก็บใต้โต๊ะได้ด้วยเพื่อความเป็นระเบียบ
3.พนักพิง
การมีพนักพิงหลังสามารถทำให้เรานั่งทำงานได้อย่างยาวนาน ไม่เมื่อยหลัง ไม่เกร็งหลัง หลังไม่งอ ทั้งนี้ พนักพิงหลังที่ดีควรมีลักษณะเอนไปด้านหลังเพียงเล็กน้อย ประมาณ 110-130 องศา และควรมีความสูงเพียงระดับไหล่หรือต่ำกว่าเล็กน้อย หากพนักพิงไม่พอดีกับสรีระสามารถใช้หมอนหนุนเพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการ
4.ความสูงของเก้าอี้ที่เหมาะสม
การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานที่ดีควรเลือกแบบมีโช้คสามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระ หากความสูงของเก้าอี้ทำงานมีความต่ำหรือสูงไปจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดสะโพกได้ โดยวิธีเช็กความสูงของระดับเก้าอี้ว่าพอเหมาะหรือไม่ให้สังเกตเวลานั่งควรให้เท้าวางแนบกับพื้นพอดี ต้นขาขนานกับพื้น ทั้งนี้ หากมีเหตุสุดวิสัยโดยปรับความสูงให้พอเหมาะกับโต๊ะทำงานแล้วแต่เท้าก็ลอยเหนือพื้น วิธีแก้คือหาที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนัก เพื่อให้ช่วงเข่าและขาผ่อนคลาย ไม่ปวดเมื่อย
5.วัสดุ
วัสดุภายในที่ทำเบาะรอง นั่งส่วนใหญ่จะใช้ฟองน้ำ หรือโฟมหลากแบบ ทั้งนี้ ควรเลือกโฟม ที่มีความหนาแน่นสูง เพราะจะมีความแข็ง ไม่ยุบตัวหรือเปื่อยยุ่ยง่าย หรือเรียกว่า Memory Foam ที่นิยมใช้ทำเตียงราคาสูง ความพิเศษคือสามารถรับน้ำหนักตัวและป้องกันการกดทับของเส้นเลือดที่ขาจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีอยู่เสมอ สำหรับวัสดุห่อหุ้มภายนอกหลัก ๆ มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ ผ้า หนังเทียม หนังแท้ และตาข่าย (แบบไม่ต้องหุ้ม) คุณสมบัติวัสดุหุ้มแต่ละชนิดมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน โดยหนังแท้มีความสวยงามและทนกว่าหนังเทียม และทั้งหนังแท้และหนังเทียมทำความสะอาดและดูแลรักษาง่ายกว่าผ้า แต่ผ้าระบายอากาศได้ดีกว่า และยังเล่นลายและมีสีให้เลือกเยอะกว่า ส่วนตาข่ายจะเน้นดีไซน์ที่ทันสมัย และยังระบายอากาศได้ดี
6.ลักษณะการนั่งที่ดี
ศีรษะต้องตั้งตรง ไม่ยื่นไปข้างหน้าหรือเงยไปด้านหลังมากเกินไป โดยระยะสายตาถึงหน้าจอคอมพ์ ประมาณ 40-75 เซนติเมตร จุดกึ่งกลางของจอคอมพิวเตอร์ควรต่ำจากระดับสายตาลงมา 15 เซนติเมตร เก้าอี้สูง 38-55 เซนติเมตร หัวไหล่ต้องไม่ยกขึ้น ที่วางแขนต้องพอดีกับโต๊ะ หลังตั้งตรงหรือพิงพนักเล็กน้อย ข้อมือและแขนอยู่ระนาบเดียวกับแป้นพิมพ์และเมาส์ นั่งให้เต็มก้น เข่ากับสะโพกตั้งฉากกัน 90 องศา
กลับสู่หน้าหลัก – jum-jim