เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก

เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก – เก้าอี้ทํางาน เพื่อสุขภาพยี่ห้อไหนดี ที่ตอบโจทย์ทุก อิริยาบถการนั่งทำงาน ที่แตกต่างกัน และลดปัญหา สุขภาพอย่าง อาการปวดหลัง และปวดต้นคอ ระหว่างนั่งทำงาน ตลอดทั้งวัน คำถามนี้น่าจะเป็น เรื่องคุ้นชินของใครหลาย ๆ คน ที่กำลังมองหาตัว ช่วยในช่วงที่ต้องนั่ง Work From Homeกันอยู่ที่บ้าน

เก้าอี้ทำงาน ราคาถูก เลือกจากอะไร ?

1.เลือกจากขนาดหรือพื้นที่

สิ่งที่สำคัญในการ เลือกซื้อเก้าอี้สักตัวควร เลือกให้มีขนาดที่พอดี กับตัวเอง หากเราเลือกเก้าอี้ที่มี ขนาดใหญ่เกินไปอาจจะ เกิดปัญหานั่งแล้วรู้สึกไม่กระชับและ ไม่รองรับสรีระ ทำให้เกิดผลกระทบ ตามมาเพราะนั่งไม่ถูกวิธี หรือการที่เราเลือกเก้าอี้ ที่ขนาดเล็กหรือกระชับเกินไป ก็จะทำให้การนั่งเก้าอี้รู้สึกอึดอัด แทนที่จะสามารถขยับ ร่างกายให้ได้เคลื่อนที่ หรือปรับเปลี่ยนท่านั่ง แต่พื้นที่ของเก้าอี้ ไม่มีเหลือนอกจาก นี้นั่งไปนาน ๆ ก็รู้สึกปวดเมื่อยหลัง เมื่อยตัวเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด และสำหรับใคร ไม่มีวิธีเลือกเก้าอี้ จากไซส์ หรือเลือกไม่ถูกสามารถ คลิกดูบทความสำหรับ การเลือกซื้อเก้าอี้ตามไซส์ดูได้เลยค่ะ นอกจากจะดูไซส์ ที่เหมาะสมแล้ว พื้นที่ที่ต้องใช้วาง เก้าอี้ก็สำคัญ ควรเลือกให้พอดี กับโต๊ะที่ใช้งาน เพื่อง่ายต่อ การจัดเก็บ และประหยัดพื้นที่ ภายในห้องได้อีกด้วย

 

2.เลือกจากวัสดุที่ใช้งาน

โดยปกติแล้วเก้าอี้ ที่เราใช้งานกันในปัจจุบัน มีหลากหลายวัสดุ ซึ่งหากเลือกวัสดุ ให้ตรงกับความต้องการ หรือการใช้งานก็จะยิ่งทำ ให้การใช้งานเก้าอี้มีประสิธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการใช้งาน ที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น และโดยทั่วไป เก้าอี้สำนักงาน จะใช้วัสดุหุ้มด้วย ผ้า , ผ้าตาข่าย , หนังเทียม , หนังแท้ ซึ่งความแตกต่างคร่าว ๆ ของวัสดุ คือการใช้งาน โดยแนะนำ หากใครที่นั่งทำงาน แล้วไม่ได้เปิดแอร์ หรือเป็นคนที่ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย ควรเลือกใช้งานวัสดุผ้าตาข่ายเพราะระบาย อากาศได้ดีกว่า และยังมีความยืดหยุ่นสูง หรือสำหรับใคร ที่ชอบสัมผัสที่ หนานุ่ม แนะนำเป็นเก้าอี้ ที่หุ้มด้วยวัสดุหนัง นอกจากนี้วัสดุ ที่หุ้มด้วยหนังจะมีความพรีเมี่ยม ูหรูหรา มากกว่า และสำหรับใคร ที่ต้องการรู้รายละเอียด วัสดุของเก้าอี้ที่ลึกกว่านี้ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความ

 

3.เลือกจากสไตล์และความชอบ

สำหรับการเลือก เก้าอี้สำนักงานใคร ว่าสไตล์และความชอบ ไม่สำคัญ คุณคิดผิดค่ะ เพราะเก้าอี้ในปัจจุบัน ออกแบบมาหลายแบบ หลายรูปทรงมาก และการเลือกซื้อเก้าอี้หนึ่งตัว ทุกคนก็อยาก จะเลือกให้คุ้มค่า ใช้ได้นาน ๆ ทำให้การเลือกซื้อ ตามความชอบ จะทำให้เราอยาก ที่จะนั่งไปนาน ๆ ยิ่งอยากดูแลรักษา นอกจากนี้ ยังทำให้เพิ่มบรรยากาศ ในการนั่งทำงานได้อีกด้วย

4.เลือกจากงบที่มี

สำหรับใครที่ มีงบที่จำกัด เพราะอาจจะอยากไป ซื้ออุปกรณ์เสริมอย่าง โต๊ะปรับระดับหรือที่วางเท้า เพิ่มเติม โดยปกติแล้วเก้าอี้สำนักงานจะเริ่มต้นที่หลักพันต้นๆ แต่ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้และรูปทรงดีไซน์ของการออกแบบ รวมไปถึงการปรับใช้งาน ทั้งนี้เพื่อนๆ สามารถเลือกจากราคาที่เพื่อนๆต้องการ และเลือกตามวัสดุที่ต้องใช้ตามด้วยดีไซน์ภายนอกที่ต้องการได้เลย เหมาะมากสำหรับใครที่ต้องการตัดตัวเลือกในการเลือกซื้อ ก็สามารถใช้การกำหนด Range Price เป็นการเลือกซื้อได้เหมือนกัน

 

ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

 โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดกลุ่มอาการดังกล่าว ได้แก่

  • ท่าทางการทำงาน (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
  • สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน

การดูแลรักษา Office Syndrome

  • ตระหนักถึงปัญหา สาเหตุ และเน้นการป้องกัน
  • การพักเป็นช่วงๆ
  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ
  • การปรับเปลี่ยน Ergonomics ให้เหมาะสมกับสภาวะงานแต่ละอย่าง
  • การออกกำลังกาย ได้แก่
    – การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Streching Exercise)
    – การเพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ (Strengthening Exercise
    – การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น ว่ายน้ำ Jogging หรือปั่นจักรยาน (Aerobic Exercise)

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ
  • หลีกเลี่ยงการก้มเงย หรือเอี้ยวบิดที่มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำซ้ำๆ และเป็นสาเหตุของอาการปวด เช่น การยกของหนัก
  • คิดก่อนที่จะทำ เช่น หากต้องยกของหนัก ควรย่อแล้วยก เกร็งหลังและหน้าท้อง ไม่ก้มยกแบบเร็วๆ ควรใช้อุปกรณ์​ หรือคนช่วย
  • ปรับโต๊ะ เก้าอี้ จอคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ให้เหมาะสม
  • นั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง
  • ที่นอนที่แน่นแข็งพอประมาณ (Firm) ไม่ยวบจม เป็นแอ่ง
  • บริหารยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ

สัญญาณอันตรายที่ต้องไปพบแพทย์

  • มีประวัติอุบัติเหตุรุนแรงมาก่อน
  • ผู้สูงอายุ
  • มีภาวะกระดูกพรุน
  • มีโรคประจำตัว เช่น มะเร็ง มีประวัติโรคติดเชื้อนำมาก่อน กินยาชุด สมุนไพร ยาหม้อ สเตียรอยด์ หรือยาหลายชนิดเป็นประจำ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • ไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
  • ดูแลตนเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น
  • กระดูกสันหลังผิดรูป เอียง คด ค่อม
  • ปวดมาก นอนพักไม่หาย หรือปวดมากตอนกลางคืน
  • มีอาการชามือ ชาแขน ชาขา ชาเท้า ชารอบก้น
  • แขน/ขา/มืออ่อนแรง
  • อุจจาระปัสสาวะไม่ออก เล็ดราด
  • ปวดเรื้อรัง และมากขึ้นเรื่อยๆ

การักษาและป้องกัน

  • การป้องกัน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น และปรับเปลี่ยนสภาวะสิ่งแวดล้อม รวมถึงตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงาน หรือกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำ
  • การรักษา
    – ยา : ได้แก่ กลุ่มลดปวด คลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ (ควรทานยาตามคำสั่งแพทย์)
    – การประคบเย็น หรือร้อน เบื้องต้นตามสถานการณ์
    – การยืดเหยียดบริหารกล้ามเนื้อ แต่ละส่วน
    – หากทำทั้งหมดดังกล่าวไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาและการกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือ หรือเทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

 

กลับสู่หน้าหลัก – jum-jim