การเอาตัวรอดจากการทำงานครั้งแรกของเด็กจบใหม่ :10 วิธีการรับมือรับมือสถานการณ์หายนะในที่ทำงาน

การเอาตัวรอดจากการทำงานครั้งแรกของเด็กจบใหม่ :10 วิธีการรับมือรับมือสถานการณ์หายนะในที่ทำงาน

 

เริ่มหางานแรกเริ่มหางานแรกใหม่หลายคนจะต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากและไม่คุ้นเคย และอาจรู้สึกว่าตนเองอาจรับแรงกดดันไม่ไหว ถ้าคุณเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่งานแรก เรามี 10 วิธีต่อไปนี้ที่จะช่วยให้คุณเอาตัวรอด ฝ่าฟันอุปสรรค และเติบโตในสายอาชีพได้ | รับเขียนบทความภาษาอังกฤษ

 

  1. บริหารเวลาให้ดี: การผันตัวจากนักเรียน / นักศึกษาเป็นคนทำงานนั้นอาจจะต้องใช้เวลาปรับตัว คุณอาจรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถทำงานที่รับมอบหมายได้ทันเวลา หรือเรียนรู้งานได้ช้ากว่าคนอื่น คุณต้องจัดการงานที่ได้รับมอบหมายและบริหารเวลาได้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อไม่ให้งานทับถมจนล้นตัว ควรใช้ตัวช่วยต่างๆเช่น ปฎิทิน สมุดจัดกิจกรรม แอพพลิเคชั่นบริหารเวลา เพื่อให้สามารถทำงานให้เสร็จทันเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

  1. การทำงานเชิงรุก: ถ้ารู้ว่าตนมีงานที่ต้องทำ คุณไม่ควรรอคำสั่ง ถึงจะเริ่มทำงานนั้นๆ เราควรเริ่มงานเองเลยและขอคำแนะนำกับคำวิพากย์วิจารย์เพื่อให้งานออกมาได้ดี มองหาโอกาสที่จะรับงานและความผิดชอบใหม่ๆเพิ่มเติม การกระทำเหล่านี้จะทำให้เจ้านายมองเห็นศักยภาพของเราในฐานะลูกจ้างที่มีค่า

 

  1. เรียนรู้จากข้อผิดพลาด: ใครๆก็พลาดกันได้ โดยเฉพาะน้องใหม่ในที่ทำงาน แต่แทนที่จะท้อใจ ใช้ความผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียนในการพัฒนาคนเองในอนาคต ถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย และพัฒนาตัวเองไม่ให้ทำพลาดแบบเดิมอีก

 

  1. สัมพันธไมตรีกับเพื่อนร่วมงาน: การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานเป็นกลยุทธสำคัญสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานจะทำให้มีเครือข่ายและผู้สนับสนุนในการทำงาน และยังทำให้งานสนุกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

  1. มีระเบียบ: การจัดการงานอย่างมีระบบระเบียบจะช่วยให้จัดการงานได้อย่างเป็นสัดส่วน และช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย การมีที่ทำงานที่สะอาดและมีระเบียบ การจัดเอกสารเป็นสัดส่วนและมีระบบระเบียบ การจัดไฟล์ประเภทต่างๆให้อยู่ในโฟลเดอร์อย่างมีระเบียบ ล้วนทำให้การทำงานนั้นง่ายขึ้นและลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

 

  1. มีการสื่อสารที่ดี: การสื่อสารนั้นสำคํญในทุกอาขีพ โดยเฉพาะสำหรับผู้เริ่มงานใหม่ ผู้เริ่มงานใหม่จะต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจนและมีความเป็นมืออาชีพ พร้อมรับฟังคำติชมเพื่อให้ตนรู้ว่างานของตนผ่านมาตรฐานของนายจ้างหรือไม่

 

  1. จัดการความคาดหวังของตนเอง: เมื่อเริ่มงานใหม่ เราจำเป็นต้องจัดการความคาดหวังเกี่ยวกับหน้าที่ทำงานให้ได้ พนักงานใหม่นั้นจะไม่พร้อมปฎิบัติงานทันทีเป็นธรรมดา เราต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และใช้เวลาฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถเพียงพอ อย่ากดดันตัวเองมากเกินไปและค่อยๆเติบโตไปกับตำแหน่งงานเรื่อยๆ

 

  1. หาคนปรึกษา: การมีที่ปรึกษาที่ดีนั้นเป็นทำให้ชีวิตของการเป็นพนักงานใหม่ง่ายขึ้นมาก พยายามตีสนิทกับพนักงานรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์และพร้อมที่จะสอนงานให้เรา การมีคนปรึกษาเรื่องต่างๆสามารถทำให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคยได้ และช่วยพัฒนาความสามารถของเราในที่ทำงานได้อีกด้วย

 

  1. อย่าลืมดูแลตัวเอง: ไม่แปลกเลยถ้าเราจะเครียดเมื่อเริ่มงานใหม่ เราจึงต้องดูแลสุขภาพกายและจิตให้พร้อมสำหรับทำงาน เราควรนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมลาพักผ่อนให้หายเหนื่อย

 

  1. อย่าเพิ่งท้อ!: การเป็นพนักงานใหม่อาจจะมีแรงกดดันสูงแต่เราต้องคิดบวกไว้ก่อน  ถ้าเราทำงานไปเรื่อยๆ เราก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายการงานได้ จงยินดีกับความสำเร็จของตนเอง เรียนรู้จากความผิดพลาด และมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการงาน

 

สรุปแล้ว การเริ่มงานใหม่นั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่ถ้าผ่านความยากลำบากนั้นเราจะได้มาซึ่งความภาคภูมิใจ การบริหารเวลา การทำงานเชิงรุก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การมีระเบียบวินัย การสื่อสารที่ดี การมีความคาดหวังที่สมจริง การมีที่ปรึกษาที่ดี การมีทัศนคติที่ดี และการดูแลสุขภาพของตนเองนั้นจะช่วยให้เราผ่านมรสุมของการเป็นพนักงานใหม่ไปได้ และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ดี

 

สั้งทำเรซูเม่หรือเขียนบทความภาษาอังกฤษแอดไลน์ @resume.studio

Facebook:รับทำเรซูเม่ รับเขียนบทความภาษาอังกฤษ ทุกหัวข้อ การันตีทีมแปลโทอิคคะแนน 990